ประเด็นท้าทาย ประจำปีงบประมาณ 2565-2566 เรื่อง

การพัฒนาทักษะนักเรียนในการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน เพลงรำสิมารำ

 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์) 

ด้วยวิธีการกลุ่มสัมพันธ์

สภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ที่ผ่านมาพบว่าเวลาในการเรียนมีน้อยการเรียนรู้นาฏศิลป์ส่วนใหญ่ใช้ทักษะการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ เวลาเรียน 2 คาบต่อสัปดาห์ทำให้นักเรียนลืมเนื้อหาในบทเรียนต้องมาเริ่มต้นและทบทวนเนื้อหาใหม่  และด้วยในห้องเรียนหนึ่ง ๆ มีทั้งนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงมักประสบปัญหาในการปฏิบัติท่ารำ แม้กระทั่งการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้ครูไม่สามารถทราบได้ว่านักเรียนคนใดปฏิบัติไม่ถูกต้อง ทั้งส่งผลให้ตัวนักเรียนเองฝึกปฏิบัติท่ารำไม่ทัน จำท่ารำไม่ได้ มีความเขินอาย เวลาสอบไม่กล้าออกมาสอบปฏิบัติทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสอบไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด และส่งผลนักเรียนเกิดความท้อแท้ใจ ขาดความสนใจ เกิดความเบื่อหน่าย ทั้งหมดของปัญหาดังกล่าวนั้นให้นักเรียนไม่เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชานาฏศิลป์

เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 231 คน ที่เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สามารถปฏิบัติท่ารำ รำวงมาตรฐานเพลง มาซิมารำ ได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่เรียนในกลุ่มสาระศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ในรายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์)   


เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 181 คน ที่เรียนในรายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์) สามารถปฏิบัติท่ารำ รำวงมาตรฐานเพลง มาซิมารำ ได้ถูกต้องตามแบบแผน ถูกต้องตามเนื้อร้อง และถูกต้องตามจังหวะ ทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแถวในการรำวง รวมไปถึงทักษะความกล้าแสดงออก ความขยัน ความมีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อม ปรับปรุง หรือพัฒนาตนเอง ตรงต่อเวลา ประจวบจนมีทัศนคติที่ดีต่อนาฏศิลป์ไทย สามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับจากการเรียนในสาระนาฏศิลป์ไปบูรณาการ กับการเรียนในรายวิชาอื่น ถึงการนำความรู้ และทักษะดังกล่าวไปต่อยอดสร้างอาชีพใหม่ ๆ ในการดำรงชีวิตภายนอกโรงเรียนได้


ประเด็นท้าทาย ประจำปีงบประมาณ 2566-2567 เรื่อง

การแก้ไขปัญหาผู้เรียนที่ไม่สามารถปฏิบัติท่ารำ และนาฏยศัพท์ได้ 

ด้วยวิธีการกลุ่มสัมพันธ์ และการเสริมแรงทางลบ

 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์) 

สภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ที่ผ่านมาพบว่าเวลาในการเรียนมีน้อยการเรียนรู้นาฏศิลป์ส่วนใหญ่ใช้ทักษะการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ เวลาเรียน 2 คาบต่อสัปดาห์ทำให้นักเรียนลืมเนื้อหาในบทเรียนต้องมาเริ่มต้น และทบทวนเนื้อหาใหม่  และด้วยในห้องเรียนหนึ่ง ๆ มีทั้งนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงมักประสบปัญหาในการปฏิบัติท่ารำ แม้กระทั่งการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้ครูไม่สามารถทราบได้ว่านักเรียนคนใดปฏิบัติไม่ถูกต้อง ทั้งส่งผลให้ตัวนักเรียนเองฝึกปฏิบัติท่ารำไม่ทัน จำท่ารำไม่ได้ มีความเขินอาย เวลาสอบไม่กล้าออกมาสอบปฏิบัติทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสอบไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด และส่งผลนักเรียนเกิดความท้อแท้ใจ ขาดความสนใจ เกิดความเบื่อหน่าย ทั้งหมดของปัญหาดังกล่าวนั้นให้นักเรียนไม่เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชานาฏศิลป์

เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 240 คน ที่เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สามารถปฏิบัติท่ารำภาษาท่า และนาฏยศัพท์ ได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่เรียนในกลุ่มสาระศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ในรายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์)   

เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 240 คน ที่เรียนในรายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์) สามารถปฏิบัติท่ารำ ภาษาท่า และนาฏยศัพท์ ได้ถูกต้องตามแบบแผน ถูกต้องตามเนื้อร้อง และถูกต้องตามจังหวะ ทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแถว รวมไปถึงทักษะความกล้าแสดงออก ความขยัน ความมีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อม ปรับปรุง หรือพัฒนาตนเอง ตรงต่อเวลา ประจวบจนมีทัศนคติที่ดีต่อนาฏศิลป์ไทย สามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับจากการเรียนในสาระนาฏศิลป์ไปบูรณาการ กับการเรียนในรายวิชาอื่น ถึงการนำความรู้ และทักษะดังกล่าวไปต่อยอดสร้างอาชีพใหม่ ๆ ในการดำรงชีวิตภายนอกโรงเรียนได้