วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ประเด็นท้าทาย ประจำปี 2565-2566
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระนาฏศิลป์ใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้นักเรียนที่ไม่สามารถปฏิบัติรำวงมาตรฐานได้มาเรียนเสริมนอกเวลาเรียน เช่น ช่วงเช้าก่อนเข้าแถว ช่วงพักกลางวันหลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จหรือช่วงเย็นหลังเลิกเรียนก่อนกลับบ้าน และวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนโดยการจับกลุ่มคละนักเรียนที่สามารถปฏิบัติท่ารำรำวงมาตรฐานได้ให้คอยช่วยเหลือฝึกซ้อมเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และลดความเขินอายของนักเรียนที่ไม่สามารถปฏิบัติท่ารำ รำวงมาตรฐานได้ ทั้งในช่วงโมงเรียน และนอกเวลาเรียน โดยมีครูผู้สอนคอยให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ติดตามความก้าวหน้า จากกระบวนการทำงานกลุ่มตามขั้นตอนไปพร้อมกับผู้เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นดังนี้
ผู้เรียนปฏิบัติท่ารำ รำวงาตรฐาน
เพลงรำสิมารำ
ผู้เรียนปฏิบัติท่ารำ รำวงาตรฐาน
เพลงรำสิมารำ
1.ครูผู้สอนศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือ แบบเรียนและขอบข่าย โครงสร้าง เนื้อหา ตัวชี้วัด การวัดผลและประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาบทเรียน
2.ครูผู้สอนศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ และวิธีการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเนื้อหาและสร้างเพลงประกอบเรียนการสอน สาระนาฏศิลป์
3.ครูผู้สอนวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ของสื่อประกอบการเรียนการสอน
4.ครูผู้สอนจัดทำแผนการเรียนรู้และกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหามาตรฐาน และตัวชี้วัดมาตรฐาน
5.ครูผู้สอนจัดหา จัดทำสื่อ และเพลงประกอบการเรียนการสอน
6.ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนเสริมนอกเวลาเรียน และวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ทั้งในและนอกเวลาเรียน
7.ครูผู้สอนให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามความก้าวหน้าผลการปฏิบัติงานกลุ่ม และการปฏิบัติแบบเดี่ยว
8.ครูผู้สอนวัดประเมินผลผู้เรียน
ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติรำวงมาตรฐาน เพลงรำสิมารำ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิธีการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำ รำวงมาตรฐาน
เพลงรำสิมารำ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ด้วยวิธีการกลุ่มสัมพันธ์
เชิงปริมาณ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 231 คน ที่เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สามารถปฏิบัติท่ารำ รำวงมาตรฐานเพลง มาซิมารำ ได้ถูกต้อง จำนวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่เรียนในรายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์) ศ22102
เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 231 คน ที่เรียนในรายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์) ศ22102 สามารถปฏิบัติท่ารำ รำวงมาตรฐานเพลง มาสิมารำ ได้ถูกต้องตามแบบแผน ถูกต้องตามเนื้อร้อง และถูกต้องตามจังหวะ ทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแถวในการรำวงรวมไปถึงทักษะความกล้าแสดงออก ความขยัน ความมีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อม การปรับปรุง หรือการพัฒนาตนเอง การตรงต่อเวลา ประจวบจนมีทัศนคติที่ดีต่อนาฏศิลป์ไทย สามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับจากการเรียนในสารพนาฏศิลป์ไปบูรณาการ กับการเรียนในรายวิชาอื่น การนำความรู้ และทักษะดังกล่าวไปต่อยอดสร้างอาชีพใหม่ ๆ ในการดำรงชีวิตภายนอกโรงเรียนได้
งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาทักษะนักเรียนในการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน เพลงรำสิมารำ
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาศิลปะ 4 (นาฏศิลป์)
ด้วยวิธีการกลุ่มสัมพันธ์ และการเสริมแรงทางลบ
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ประเด็นท้าทาย ประจำปี 2565-2566
Coming soon